วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๗๒ ปัตติทาน

#๗๒อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า ปัตติทาน 

ภาวนามยปุญญกิริยาวัตถุที่ได้กล่าวมาแล้วคือ วิปัสสนา สมถะ การศึกษาศิลปวิทยางานอาชีพที่ไม่มีโทษ รวมกระทั่งการพิจารณาไทยธรรมในคราวก่อนให้ กำลังให้และหลังจากให้.  แต่ยกเว้นสมาธิที่เป็นอัปปนาสมาธิและวิปัสสนาที่เกิดหลังโคตรภูญาณ ไม่จัดเป็นภาวนามย เพราะเป็นกุศลที่ไม่ใช่กามาวจรกุศล แต่เป็นรูปาจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตรกุศล. บัดนี้จะแสดงวินิจฉัยเรื่องปัตติทาน ตามนัยของฎีกาอภิธัมมาวตารสืบไป
ปัตติทาน เมื่อว่าตามบทพยัญชนะ ได้แก่ การให้ปัตติคือบุญนั่นเอง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นเจตนาที่เป็นไปภายหลังที่บุคคลได้ทำกรรมดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมุ่งหวังให้กรรมดีที่ตนทำไว้แล้วนั้นเป็นของทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่นด้วยอาการอย่างนี้ว่า “บุญนี้จงมีแก่ชนชื่อโน้น หรือแก่สรรพสัตว์เถิด”.

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ถ้าเอาบุญของตนไปให้ผู้อื่นแล้ว บุญจะมิเป็นอันสิ้นไปดอกหรือ?
ตอบ ไม่, เปรียบเหมือนว่า เมื่อได้จุดประทีปหนึ่งดวงแล้วต่อประทีปจากดวงแรกนั้นอีกพันดวง ดวงแรกจะได้ชื่อว่า หมดสิ้นไป ก็หามิได้เลย, โดยที่แท้ เมื่อประทีปดวงหลังรวมกับดวงแรกเป็นดวงเดียวแล้ว จะกลายเป็นประทีปดวงใหญ่อย่างยิ่งทีเดียว ข้อนี้เป็นฉันใด, แม้เมื่อให้ส่วนบุญฉะนี้แล้ว จะมีความเสื่อมสิ้นไปก็หามิได้เลย, โดยที่แท้กลับเป็นอันเจริญงอกงามนั่นเทียว ฉันนั้น.

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ก็ปัตติคือส่วนบุญที่ทำแล้วนี้ จะได้ชื่อว่า “เป็นอันให้แล้ว” ได้อย่างไร?
ตอบ ด้วยการเปล่งวาจาหรือคิดในใจ ในเวลาก่อนหรือแม้ในภายหลัง อย่างนี้ว่า บุญกรรมของเรานี้จงมีแก่สรรพสัตว์ หรือ แก่บุคคลโน้น”.

แม้เมื่อเอ่ยวาจาว่า “เราได้ทำกรรมดีอันใดไว้, เรา “ขอให้” ผลของกรรมดีนั้น” ฉะนี้แล้ว บุญคือปัตตินั้น ก็เป็นอันให้แล้ว. กรณีนี้เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง.
          จึงมีข้อสรุปตกลงร่วมกันของอาจารย์ทั้งหลายในเรื่องนี้ว่า “ก็เพราะปัตตินี้เป็นกรรมอยู่ในห้วข้อว่าด้วยเรื่องกุศลกรรมด้วย ปัตตินั้นควรถูกอนุโมทนาด้วย ดังนั้น ปัตตินั่นแหละก็เป็นของพึงให้, ปัตตินั่นแหละ แม้อันบุคคลผู้อนุโมทนา ก็จะพึงอนุโมทนาด้วย.
(หมายถึง ปัตตินั้นนั่นแหละควรให้ เพราะเป็นเรื่องกุศลกรรม, และปัตตินั้นเช่นกัน ผู้จะอนุโมทนาก็จะควรอนุโมทนาฉะนั้น กุศลกรรมที่ตนทำมาซึ่งจะให้แก่คนอื่นที่เขาจะควรอนุโมทนา จึงเรียก ว่า ปัตติทาน
ปัตติ คือ บุญที่เข้าถึงแล้ว ทำแล้ว ซึ่งได้แก่ บุญส่วนบุญที่ผู้ทำได้รับ. อีกนัยหนึ่ง ปัตติ คือ บุญที่ให้ถึงแก่ผู้อื่น หมายถึง ผลบุญที่อุทิศให้คนอื่น และเป็นผลบุญที่ผู้อื่นซึ่งอนุโมทนาชื่นชมอยู่พึงได้รับ       
  
[คำว่า ปตฺติ มีความหมาย ๒ ประการ คือ                   
-ส่วนบุญที่ได้รับ = ปชฺชิตฺถาติ ปตฺติ (ปท ธาตุ + ติ ปัจจัย)          
-ผลบุญที่อุทิศให้คนอื่น = ปาปียตีติ ปตฺติ (ปท ธาตุ + เณ การิตปัจจัย + ติ ปัจจัย)]

ขอยุติไว้แต่เพียงนี้ 

ขออนุโมทนา 
สมภพ สงวนพานิช.

*****

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๗๑ ภาวนามยกุศล

#๗๑อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร

กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า ภาวนา -

**** เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีรฺอภิธัมมาวตาร ๘ วินิจฉัยบุญกิริยาวัตถุ

ท่านสาธุชนทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ กับกุศลนั้นก็คือธรรมเดียวกันนั่นเอง กล่าวคือ กุศลเมื่อเป็นไปก็เป็นไปโดยความเป็นบุญกริยวัตถุ ๑๐ นี้เอง

เมื่อคราวที่แล้วได้แสดงวินิจฉัยว่า แม้ธรรมชาติที่ได้ชื่อว่า ทาน เหมือนกัน แต่จะได้ชื่อบุญกิริยาทั้งหมดก็หามิได้ เพราะถ้าเกิดขึ้นกับพระขีณาสพ ก็ไม่จัดเข้าเป็นบุญกิริยาตามเหตุผลที่ได้กล่าวไปแล้ว.

แม้ศีลก็มีส่วนคล้ายกับทานอยู่บ้าง ในกรณีที่ทานนั้นเกิดขึ้นโดยความเป็นกิริยาที่สืบต่อกันของตระกูลหรือประพฤติกันสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คิดถึงการบูชาและอนุเคราะห์ ก็จะเป็นศีลประเภทจาริตตศีล แต่ในกรณีที่คิดถึงการบูชาและอนุเคราะห์ก็คงจัดเป็นทานมัยตามปกติ.

ถึงคราวนี้ จะได้แสดงข้อวินิจฉัยในบุญกิริยาข้ออื่นต่อไปตามควรแก่เวลา

ภาวนานั้นเล่ามีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๗๐. บุญกิริยวัตถุ ๑๐ ทานมยและสีลมยบุญญกิริยาวัตถุ

#๗๐อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ทานมย.และสีลมยบุญญกิริยาวัตถุ

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )


เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวความหมายตามบทเรียกวา “ปทวิจาร” หมายถึง การตีกรอบความหมายตามบทพยัญชนะอย่างสังเขปเท่าที่ปรากฏตามหลักการที่คัมภีร์ฎีกาอภิธัมมาวตารนำเสนอไว้ บัดนี้จะแสดงความเป็นไปตามสภาวะและขอบเขตของบุญกิริยาวัตถุนั้นๆ โดยนัยของฎีกานั้นสืบไป.

ทาน อันที่จริง ก็คือ ปริจจาคเจตนา เจตนาที่ทำให้สละวัตถุ ที่ประกอบในกุศลจิตนั่นเอง.  อันที่จริง เจตนาที่เป็นไปโดยเนื่องด้วยการสละสิ่งของที่มีอยู่ของตน โดยหวังจะบูชาและอนุเคราะห์มุ่งไปที่บุคคลอื่น ของเสขบุคคลและปุถุชน ก็เรียกว่า ทาน. แม้เจตนาดังกล่าว ที่เป็นไปแก่พระขีณาสพ ก็เรียกว่า ทาน เหมือนกัน, แต่ทว่า เจตนาของพระเสขะและปุถุชนเท่านั้นที่ประสงค์เอาว่าเป็นทานมยปุญญกิริยาวัตถุ ของพระขีณาสพมิได้ประสงค์เอา,

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๖๙.ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ (ต่อ)

#๖๙อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ (ต่อ)

ดูเนื้อความช่วงนี้อยู่ในคัมภีร์ (คลิ๊กดู)  อภิธัมมาวตารครั้งที่ ๘
บุญกิริยาวัตถุ กล่าวคือ กุศล ๘ ดวงอันเป็นบุญคือสิ่งควรทำอันเป็นเหตุแห่งอานิสงส์ทั้งหลาย ที่ว่ามี ๑๐ นั้น ได้แก่
    ๒๑.  ทานํ สีลํ ภาวนา ปตฺติทานํ,
เวยฺยาวจฺจํ เทสนา จานุโมโท;
ทิฏฺฐิชฺชุตฺตํ สํสุติจฺจาปจาโย,
เญยฺโย เอวํ ปุญฺญวตฺถุปฺปเภโทฯ