วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๒ : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น (ต่อ)

#๘๒อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น
เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๙ http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ถ้าว่า เจตนาระลึกถึงบุญที่ตนทำไว้นั้น สงเคราะห์เข้าไว้ในทิฏฐุชุกรรม, และอปรเจตนานี้ก็คือทิฏฐุชุกรรมสิ, ฉะนั้น จะสงเคราะห์การระลึกบุญนั้นเข้าไปในทิฏฐุชุกรรมได้อย่างไร?
ตอบ ข้อนี้ไม่ผิดอะไรเลย, เพราะท้ังสองคือเจตนาระลึกบุญ กับอปรเจตนาของทิฏฐุชุกรรม มีสภาวพต่างกันโดยประเภทอารมณ์ คือ การระลึกบุญมีบุญที่ทำเป็นอารมณ์ แต่อปรเจตนามีวัตถุของทานเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์
ท่านสาธุชนคิดถึงความจริงเถิดว่า การนึกถึงทานเป็นต้นที่เคยทำแล้ว ก็ไม่ได้คิดโดยทำนองว่าเป็นบุญอย่างนั้น เป็นบุญอย่างนี้  แต่คิดถึงวัตถุทานที่ตนให้ ศ๊ลที่รักษา ภาวนาหรือพระกรรมฐานที่ตนอบรม ธรรมที่ฟัง และที่แสดง, ผู้ใหญ่ที่ตนเคารพ และกิจที่ตนช่วยเหลือ บุญที่ตนอุทิศและอนุโมทนา หรือแม้แต่ความเห็นที่ถูกสัมมาทิฏฐิชำระ,
ด้วยประการดังกล่าวมานี่เอง คือ ข้อแตกต่างกันโดยเอาอารมณ์มาเป็นเกณฑ์ จำแนก ที่ทำให้ข้อโต้แย้งนี้ถูกกล่าวแก้แล้ว.
ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๑: สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น

#๘๑อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๙ )
http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ เมื่อเป็นไปย่อมเป็นไปในกาล ๓ เหล่านี้ คือ
๒๕. ปุริมา มุญฺจนา เจว,          ปรา ติสฺโสปิ เจตนา;
       โหติ ทานมยํ ปุญฺญํ,         เอวํ เสเสสุ ทีปเยฯ
๒๕. ในบุญข้อทานมัย มีเจตนา ๓ คือ ปุริมเจตนา มุญจนเจตนา และปรเจตนา ในบุญข้อที่เหลือ บัณฑิตพึงแสดงเจตนา ๓ ได้อย่างนั้นเหมือนกัน

ในคาถานี้ท่านยกทานมัยขึ้นเป็นตัวอย่างก่อน บัณฑิตพึงประกอบบุญกิริยาที่เหลือโดยนัยนี้.
ก่อนอื่น พึงทราบการแบ่งกาลของเกิดขึ้นของบุญดังนี้

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๐ สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

#๘๐อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
นอกจากบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการนั้นที่ตามนัยที่มาในอรรถกถาแล้ว ยังมีบางอาจารย์ตัดทิฏฐุชุกรรมออก แต่เพิ่มบุญกิริยาอีก ๓ ดังกล่าวมาแล้วในคราวที่แล้ว อันที่จริงแล้ว บุญกิริยาเหล่านั้นสามารถสงเคราะห์ได้ในทิฏฐุชุกรรม โดยไม่ต้องตัดออกอย่างนี้ คือ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

๗๙ : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

#๗๙อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )

เมื่อคราวที่แล้วแสดงการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็น บุญกิริยา ๓ เพื่อการสอดคล้องกันระหว่างบาฬีสุตตันตนัยกับอรรถกถานัย. บัดนี้ยังมีแนวคิดในการสงเคราะห์นั้นอีก ดังนี้
บุคคลเมื่อแสดงหรือฟังธรรม ชื่อว่า ย่อมแสดงและฟัง โดยส่งญาณน้อมตามเทศนานั้นแล้วแทงตลอดลักษณะ, อนึ่ง การเทศนาและฟังธรรมนั้นชื่อว่า ย่อมนำมาซึ่งการแทงตลอดนั่นเทียว ดังนั้น เทสนาและสวนมัยน้ัน ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าไว้ในภาวนามัย.

๗๘ : บุญกิริยวัตถุ ๑๐ สงเคราะห์เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓

#๗๘อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : บุญกิริยวัตถุ ๑๐ สงเคราะห์เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
ท่านสาธุชนทั้งหลาย เนื้อความของอภิธัมมาวตารได้ดำเนินมาตามลำดับกระทั่งถึงการสงเคราะห์กุศลจิตที่เมื่อเป็นไปย่อมเป็นไปโดยเป็นบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งก็หมายความว่า กุศลจิตมีภาพลักษณ์ที่กำหนดได้ง่ายก็คือการกระทำบุญต่างๆทั้ง ๑๐ ประการนั่นเอง.

๗๗ อปจายนะ

#๗๗อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า อปจายนะ
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
แต่เมื่อเห็นพระเถระผู้ควรบูชา ครูอาจารย์ และ ผู้ใหญ่ ก็ทำความเคารพ โดยลุกจากอาสนะ ก็ดี ทำการต้อนรับโดยรับบาตรจีวร หลีกทางให้ อภิวาท กราบไหว้ นำอาสนะ ดอกไม้ ของหอมเป็นต้นมามอบถวายให้ ดังนี้แล้ว กุศลชนิดอปจิติ หรือ อปจายนมยบุญกิริยาวัตถุ เป็นอันเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นแล้ว.
ในข้อนี้ดูละม้ายกับเวยยาวัจจมัยอยู่เหมือนกัน แต่มีความต่างกันให้สังเกตได้บ้าง คือ
การช่วยเหลือขวนขวายในกิจทุกๆอย่ง ต่อผู้สูงกว่าโดยวัยและคุณ ก็ดี ต่อภิกษุไข้ก็ดี นี้เป็นเวยยาวัจจมัย, แต่ถ้าทำความเคารพ เป็นอปาจยนมัย.

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช