วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๘ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๘อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

เมื่อคราวที่แล้วมาได้กล่าวถึง มหากุศลจิตดวงที่ ๑ โดยการเกิดขึ้นในชีวิตของพวกเรา ตามความเป็นจริง. ถึงคราวนี้ ถ้าบุคคลนั้น ยังขาดความกระตือรือร้น ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจาก ไม่เห็นคุณค่าของบุญ ถูกความตระหนี่ครอบงำเป็นต้น. แต่เมื่ออาศัยแรงกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจโดยอุบายอันแยบคาย อันตนได้เคยสะสมมาจากการสดับตรับฟังพระธรรม ก็ตาม มีกัลยาณมิตรมาแนะนำให้มีความอาจหาญในอันจะทำบุญ เขาก็มีใจยินดีทำบุญ ทั้งมีความเข้าใจอย่างถูกต้องในสภาพและผลของบุญนั้นว่ามีประโยชน์ให้ผลเป็นความสุขทั้งในสัมปรายิกะและทิฏฐธรรม จึงได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง.  

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๗ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๗อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

ได้กล่าวองค์ประกอบของกามาวจรกุศลจิต ที่เรียกว่า มหากุศลจิต ดวงที่ ๑ ในบรรดา ๘ ดวง ไป ๒ ประการแล้ว คือ เกิดขึ้นพร้อมกับโสมนัสเวทนา และ สัมปยุตด้วยปัญญา บัดนี้จะได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่ ๓ คือ ไม่มีการกระตุ้นชักชวน.

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๖อภิธัมมาวตาราวตาร :ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๖อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

ต่อไปนี้จะกล่าวถึง คุณสมบัติพิเศษของกามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ อย่างที่ ๒ คือ สัมปยุตกับญาณสืบไป
ท่านแสดงจิตดวงนี้ว่าเป็นญาณสัมปยุตจิต ไว้ด้วยข้อความว่า กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้น ไว้เป็นเบื้องหน้า
ฎีกาอภิธัมมาวตาร ท่านวินิจฉัยคำว่า สัมมาทิฏฐิ ว่าได้แก่ ความเห็นอย่างถูกทาง หรือ ความรู้ถูกต้องอันบัณฑิตสรรเสริญ โดยมีหลักฐานอัางอิง ๒ ประการ คือ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๕: ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๕อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

คราวนี้จะได้ชำระปัญหากรรมในข้อที่ ๒ ว่า ปฏิคาหก คือ ใคร
ปฏิคาหก ได้แก่ ผู้รับเอาซึ่งทานอันเขาให้แล้วนั้น.  ในภาษาไทย บางครั้งนิยมเรียกผู้ รับ มีพระสงฆ์เป็นต้นว่า ปฏิคาหก ตามคำศัพท์เดิมในภาษาบาฬี. ส่วนทายก คือ ผู้ให้ ดังนั้น ทายกและปฏิคาหก ก็เป็นผู้ที่เป็นไปโดยไม่แยกจากกัน.

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

#๘๔ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๔อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง
ดูคัมภีร์อภิธัมมาวตารแปล http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html
กามาวจรกุศลจิต เมื่อกล่าวโดยเกี่ยวกับความเป็นไป จะมีความผูกติดอยู่กับธรรม ๓ ประการ คือ
๑. สังขาร
๒. ญาณ
๓. เวทนา

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๓ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๓อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร (http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html ) ได้กล่าวถึง กามาวจรกุศลจิตโดยลำดับการเกิดขึ้นไว้ดังนี้


๑. ในเวลาใด บุคคลใด อาศัยความถึงพร้อมแห่งไทยธรรม และปฏิคาหกเป็นต้น หรือเหตุแห่งโสมนัสอย่งอื่น เป็ฯผู้ร่าเริงบันเทิง กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นเบื้องหน้า ไม่ท้อแท้อยู่ ไม่ถูกผู้อื่นกระตุ้น กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ในเวลานั้น.

๘๓ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๓อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร ( http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html ) ได้กล่าวถึง กามาวจรกุศลจิตโดยลำดับการเกิดขึ้นไว้ดังนี้

๑. ในเวลาใด บุคคลใด อาศัยความถึงพร้อมแห่งไทยธรรม และปฏิคาหกเป็นต้น หรือเหตุแห่งโสมนัสอย่งอื่น เป็ฯผู้ร่าเริงบันเทิง กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นเบื้องหน้า ไม่ท้อแท้อยู่ ไม่ถูกผู้อื่นกระตุ้น กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ในเวลานั้น.

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๒ : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น (ต่อ)

#๘๒อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น
เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๙ http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ถ้าว่า เจตนาระลึกถึงบุญที่ตนทำไว้นั้น สงเคราะห์เข้าไว้ในทิฏฐุชุกรรม, และอปรเจตนานี้ก็คือทิฏฐุชุกรรมสิ, ฉะนั้น จะสงเคราะห์การระลึกบุญนั้นเข้าไปในทิฏฐุชุกรรมได้อย่างไร?
ตอบ ข้อนี้ไม่ผิดอะไรเลย, เพราะท้ังสองคือเจตนาระลึกบุญ กับอปรเจตนาของทิฏฐุชุกรรม มีสภาวพต่างกันโดยประเภทอารมณ์ คือ การระลึกบุญมีบุญที่ทำเป็นอารมณ์ แต่อปรเจตนามีวัตถุของทานเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์
ท่านสาธุชนคิดถึงความจริงเถิดว่า การนึกถึงทานเป็นต้นที่เคยทำแล้ว ก็ไม่ได้คิดโดยทำนองว่าเป็นบุญอย่างนั้น เป็นบุญอย่างนี้  แต่คิดถึงวัตถุทานที่ตนให้ ศ๊ลที่รักษา ภาวนาหรือพระกรรมฐานที่ตนอบรม ธรรมที่ฟัง และที่แสดง, ผู้ใหญ่ที่ตนเคารพ และกิจที่ตนช่วยเหลือ บุญที่ตนอุทิศและอนุโมทนา หรือแม้แต่ความเห็นที่ถูกสัมมาทิฏฐิชำระ,
ด้วยประการดังกล่าวมานี่เอง คือ ข้อแตกต่างกันโดยเอาอารมณ์มาเป็นเกณฑ์ จำแนก ที่ทำให้ข้อโต้แย้งนี้ถูกกล่าวแก้แล้ว.
ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๑: สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น

#๘๑อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๙ )
http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ เมื่อเป็นไปย่อมเป็นไปในกาล ๓ เหล่านี้ คือ
๒๕. ปุริมา มุญฺจนา เจว,          ปรา ติสฺโสปิ เจตนา;
       โหติ ทานมยํ ปุญฺญํ,         เอวํ เสเสสุ ทีปเยฯ
๒๕. ในบุญข้อทานมัย มีเจตนา ๓ คือ ปุริมเจตนา มุญจนเจตนา และปรเจตนา ในบุญข้อที่เหลือ บัณฑิตพึงแสดงเจตนา ๓ ได้อย่างนั้นเหมือนกัน

ในคาถานี้ท่านยกทานมัยขึ้นเป็นตัวอย่างก่อน บัณฑิตพึงประกอบบุญกิริยาที่เหลือโดยนัยนี้.
ก่อนอื่น พึงทราบการแบ่งกาลของเกิดขึ้นของบุญดังนี้

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๐ สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

#๘๐อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
นอกจากบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการนั้นที่ตามนัยที่มาในอรรถกถาแล้ว ยังมีบางอาจารย์ตัดทิฏฐุชุกรรมออก แต่เพิ่มบุญกิริยาอีก ๓ ดังกล่าวมาแล้วในคราวที่แล้ว อันที่จริงแล้ว บุญกิริยาเหล่านั้นสามารถสงเคราะห์ได้ในทิฏฐุชุกรรม โดยไม่ต้องตัดออกอย่างนี้ คือ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

๗๙ : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง

#๗๙อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีกนัยหนึ่ง
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )

เมื่อคราวที่แล้วแสดงการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็น บุญกิริยา ๓ เพื่อการสอดคล้องกันระหว่างบาฬีสุตตันตนัยกับอรรถกถานัย. บัดนี้ยังมีแนวคิดในการสงเคราะห์นั้นอีก ดังนี้
บุคคลเมื่อแสดงหรือฟังธรรม ชื่อว่า ย่อมแสดงและฟัง โดยส่งญาณน้อมตามเทศนานั้นแล้วแทงตลอดลักษณะ, อนึ่ง การเทศนาและฟังธรรมนั้นชื่อว่า ย่อมนำมาซึ่งการแทงตลอดนั่นเทียว ดังนั้น เทสนาและสวนมัยน้ัน ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าไว้ในภาวนามัย.

๗๘ : บุญกิริยวัตถุ ๑๐ สงเคราะห์เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓

#๗๘อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : บุญกิริยวัตถุ ๑๐ สงเคราะห์เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๓

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
ท่านสาธุชนทั้งหลาย เนื้อความของอภิธัมมาวตารได้ดำเนินมาตามลำดับกระทั่งถึงการสงเคราะห์กุศลจิตที่เมื่อเป็นไปย่อมเป็นไปโดยเป็นบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งก็หมายความว่า กุศลจิตมีภาพลักษณ์ที่กำหนดได้ง่ายก็คือการกระทำบุญต่างๆทั้ง ๑๐ ประการนั่นเอง.

๗๗ อปจายนะ

#๗๗อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า อปจายนะ
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
แต่เมื่อเห็นพระเถระผู้ควรบูชา ครูอาจารย์ และ ผู้ใหญ่ ก็ทำความเคารพ โดยลุกจากอาสนะ ก็ดี ทำการต้อนรับโดยรับบาตรจีวร หลีกทางให้ อภิวาท กราบไหว้ นำอาสนะ ดอกไม้ ของหอมเป็นต้นมามอบถวายให้ ดังนี้แล้ว กุศลชนิดอปจิติ หรือ อปจายนมยบุญกิริยาวัตถุ เป็นอันเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นแล้ว.
ในข้อนี้ดูละม้ายกับเวยยาวัจจมัยอยู่เหมือนกัน แต่มีความต่างกันให้สังเกตได้บ้าง คือ
การช่วยเหลือขวนขวายในกิจทุกๆอย่ง ต่อผู้สูงกว่าโดยวัยและคุณ ก็ดี ต่อภิกษุไข้ก็ดี นี้เป็นเวยยาวัจจมัย, แต่ถ้าทำความเคารพ เป็นอปาจยนมัย.

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๗๖ สวนมัย

#๗๖อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร

กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า สวนมัย 

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
เมื่อคราวที่แล้วได้แสดงวินิจฉัยเกี่ยวกับบุญญกิริยาไปแล้วหลายข้อ บัดนี้จะได้แสดงปกิณณกวินิจฉัยในปุญญกิริยาที่เหลือสืบไป
          สวนมยบุญกิริยา ก็คือ การที่ได้ฟังพระสัทธรรมโดยแนวทางแห่ง #วิมุตตายตนะ (ดูใน #๗๓อภิธัมมาวตาราวตาร ) ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือผู้อื่นก็ตาม ด้วยตั้งจิตไว้อย่างนีีว่า เราครั้นได้ฟังธรรมอย่างนี้ปฏิบัติตามที่ท่านกล่าวไว้ในที่นั้นแล้วจักบรรลุคุณวิเศษทั้งโลกียะและโลกุตระ. หรือ เราเป็นพหูสูตแล้วจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยธรรมเทศนาสืบไป” บุญกุศลชนิดนี้เรียกว่า สวนมยบุญกิริยาวัตถุ.
          (บัณฑิตพึงทราบว่า การฟังธรรมมีอานิสงส์หรือจะมีเป้าหมายสูงสุดคือได้บรรลุอานิสงส์ดังกล่าว และอาจสามารถบอกสอนแก่ผู้อื่นได้ ตามที่ต้องการ ซึ่งควรเป็นสิ่งที่ควรตั้งไว้ในใจอย่างนี้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในวิมตตายตนสูตร.  กรณีนี้เป็นการแสดงโดยอุกกัฏฐนัย คือ นัยแห่งการแสดงอย่างสูงสุด. อย่างไรก็ตาม แม้เมื่อไม่อาจทำตามเป้าหมายสูงสุดนั้นได้เป็นไป การฟังธรรมก็จะอำนวยอานิสงส์อื่น อาทิ ความเเป็นผู้มีปัญญามากเป็นต้นด้วย มีอุทาหรณ์มากมายที่อาทิ การได้ยินบทธรรมของสองสามีภรรยาในครั้งอดีต แม้จะไม่รู้อรรถของเทศนาการได้ยินบทธรรมก็เป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมได้ง่ายในครั้งนี้ และแม้สัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร ๕๐๐ รูปที่อดีตชาตเป็นค้างคาว ได้สดับการสาธยายพระอภิธรรม แม้ไม่รู้เรื่องแต่เพราะถือนิมิตในเสียง ก็ได้ปัจจัยนั้นมาเป็นพระผู้ชำนาญพระอภิธรรมได้ ซึ่งอุทาหรณ์เหล่านี้เป็นเครื่องแสดงอานิสงส์โดยอ้อมของการฟังธรรม)
          ส่วนแม้การฟังหรือศึกษาเล่าเรียนวิชาการอื่นๆ ที่ไม่มีโทษก็สงเคราะห์เข้าในข้อนี้.

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๗๕ ทิฏฐุชุกัมม์ (ทิฏฐุชุตตะ) จบ

#๗๕อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า ทิฏฐุชุกัมม์ (ทิฏฐุชุตตะ) จบ 

            ***** อ่าน  อภิธัมมาวตาร ๘   ประกอบด้วยครับ
เมื่อคราวที่แล้ว ได้แสดงทิฏฐุชุกัมม์โดยนัยที่หนึ่งแล้ว ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งที่ควรทราบเหมือนกัน กล่าวคือ
ที่เราเรียกกัน ความเห็น ความคิดเห็น ว่า ทิฏฐิ นั้น อันที่จริงก็ได้แก่ จิต อย่างหนึ่ง ปัญญาอย่างหนึ่ง โดยเนื่องด้วยเป็นสภาพเห็นแจ้งอารมณ์ และ เป็นสภาพรู้เห็นจริงตามสภาวะ. ในที่นี้ ความเห็นตรงอย่างถูกต้อง ได้แก่  วิญญาณอันเป็นกุศล (กุศลจิต) และปัญญาญาณมีกัมมัสสกตาญาณเป็นต้น ชื่อว่า ทิฏฐุชุตตะ. ดังนั้น การระลึกถึงสุจริต, การสรรเสริญและการเข้าถึงคุณผู้อื่น แห่งตน สงเคราะห์เข้าไปในการเกิดขึ้นแห่งญาณ โดยเป็นกุศลจิต  และในกัมมปถสัมมาทิฏฐิ (กรรมบถข้อมโนกรรมคือสัมมาทิฏฐิ) โดยเป็นกัมมัสกตาญาณ.

แต่ในกรณีญาณอันสัมปยุตกับเจตนามีทานเป็นต้น พึงทราบว่า ญาณก็เป็นอันรวมอยู่ภายในทานนั่นเอง
(หมายความว่า ทิฏฐุชุตตะนี้ ถ้าเล็งเอาว่าเป็นกุศลจิต บุญเหล่านี้คือ การระลึกถึงสุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ก็จัดเป็นญาณที่เกิดขึ้นในจิต. จิตชื่อว่า มีความเห็นตรง. แต่ถ้าเล็งเอาว่าเป็นกัมมัสสกตาญาณ บุญเหล่านี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นมโนกรรมในกรรมบถ. ญาณ ชื่อว่า ความเห็นตรงไม่เกี่ยวกับจิต. เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีที่ญาณเกิดร่วมกับเจตนาอย่างอื่น เช่นการเล็งเห็นว่าทานมีผลเป็นต้นในขณะให้หรือก่อนหลังเป็นต้น ก็ถือเป็นทานมัยบุญกิริยานั่นเอง ไม่ใช่ทิฏฐุชุกัมมบุญกิริยา)

ท่านสาธุชนทั้งหลาย เนื้อหาพระธรรมในฝ่ายพระอภิธรรม มีความลึกซึ้ง เพราะสภาวธรรมมีสภาพลึกซึ้ง เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญุตญาณ ไม่ใช่วิสัยที่จะตรึกตรองเอง  ดังนั้น  เทสนาธรรมในฝ่ายนี้ จะช่วยฝึกความคิด อบรมสุตปัญญาให้มีมากขึ้น อันจะต่อยอดถึงการหลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงผนวกด้วยปฎิสัมภิทาญาณคมกล้า สมกับคำที่กล่าวกันว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา” ขอท่านทั้งหลายอย่าได้คิดแหนงหน่ายว่า “พระธรรมอะไรหนอ ช่างยากเย็นเสียนี่กระไร” ดังนี้แล้วก็พากันเลิกล้มความเพียรไปเสีย ขอจงทำไว้ในใจอย่างนี้เถิดว่า “เราจักศึกษาไว้เพื่อเป็นผู้รักษาพระธรรมของพระพุทธองค์ ผู้เป็นพระบรมศาสดา ดุจขุนคลังรักษาสมบัติแห่งพระราชาไว้ฉะนั้น”

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๗๔ ทิฏฐุชุกัมม์ (ทิฏฐุชุตตะ)

#๗๔อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า ทิฏฐุชุกัมม์ (ทิฏฐุชุตตะ) 
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )
http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_79.html

ได้กล่าวถึงกุศลจิตที่เป็นไปในลักษณะคือบุญกิริยาวัตถุมาโดยลำดับ คราวนี้จะได้กล่าวถึงการทำความเห็นให้ตรงต่อความเป็นจริงที่เรียกว่า ทิฏฐุชุตตะ ตามอภิธัมมาวตารนี้ แต่เราท่านจะรู้จักในนามว่า ทิฏฐุชุกรรม นั่นเอง

เมื่อเราได้ทำความเห็นให้ตรงต่อความเป็นจริงโดยก้มมัสสกตาญาณ คือ ปัญญาที่รู้ ที่เข้าใจ ที่มีความเห็นถูกต้องว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นต้น อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล เป็นต้น อย่างนี้ชื่อว่า ได้ทำบุญกิริยาข้อที่ว่า ทิฏฐุชุกรรมนี้ให้สำเร็จแล้ว กุศลที่เป็นไปในเวลานั้น ก็เป็นอันเกิดร่วมกับปัญญา.

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ถ้าอย่างนั้น บุญกิริยาข้อนี้เกิดได้เฉพาะญาณสัมปยุตจิต คือ จิตที่เกิดร่วมกันปัญญาอย่างนี้เท่านั้น นะสิ, ไม่เกิดกับญาณวิปยุตจิตใช่ไหม?

ตอบ จะไม่เกิดก็หามิได้, เพราะได้มีการสงเคราะห์เอาเจตนาที่เกิดในคราวแรกและคราวหลังไว้ในบุญกิริยาทุกข้ออยู่แล้ว ดังนั้น ถึงแม้เมื่อเคยเกิดกัมมัสสกตาญาณมาก่อน แม้เมื่อทำจิตดวงที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือที่เรียกว่า ญาณวิปยุตจิตให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะก่อนหน้าหรือภายหลัง ก็ได้ชื่อว่า เป็นอันได้ทำบุญกิริยาข้อนี้แล้ว. เรื่องนี้ท่านสาธุชนจะพบว่า ในคัมภีร์อภิธัมมาวตารนี้จะกล่าวยืนยันความข้อนี้ไว้ว่า

‘‘ปุริมา มุญฺจนา เจว, ปรา ติสฺโสปิ เจตนา;
โหติ ทานมยํ ปุญฺญํ, เอวํ เสเสสุ ทีปเย’’ติฯ
ในบุญข้อทานมัย มีเจตนา ๓ คือ ปุริมเจตนา มุญจนเจตนา และปรเจตนา. ในบุญข้อที่เหลือ บัณฑิตพึงแสดงเจตนา ๓ ได้อย่างนั้น เหมือนกัน.

เป็นอันสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะกาลไหนๆ คือ ก่อนทำ กำลังทำ และภายหลัง ทำกรรมนั้น ก็ได้ชื่อว่า ทำความเห็นให้ตรงแล้ว แต่อาจมีข้อแม้ว่า ท่านจะต้องทำความเห็นให้ตรงด้วยอำนาจกัมมัสกตาญาณนี้ไว้ก่อน บุญนี้ย่อมสำเร็จแก่ท่านสาธุชนโดยแน่นอน ไม่ว่าจะก่อนหน้าหรือภายหลังก็ตาม

---

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

๗๓ คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า เวยยาวัจจะ เทสนา และอนุโมทนา

#๗๓อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า เวยยาวัจจะ เทสนา และอนุโมทนา

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )

ได้กล่าวถึงปัตติทานมยปญญกิริยามาแล้วในคราวก่อนว่า ปัตติทานนั้น คือ การให้บุญหรือผลของบุญที่ตนทำมาแก่ผู้อื่นและได้แสดงวินิจฉัยว่า คือ กุศลกรรม คือ สิ่งที่ควรให้ ชื่อว่า ทาน และ ทานนั้น ต้องเป็นไปในลักษณะที่ผู้จะอนุโมทนาก็ควรจะอนุโมทนาได้ด้วย กุศลกรรมนั้นก็ได้ชื่อว่า ปัตติทาน. บัดนี้ก็จะได้นำสาระของปุญญกิริยาที่เหลือมีเวยยาวัจจะเป็นต้นมาแสดงให้ได้ทราบพอสังเขป.
ตามนัยของฎีกาอภิธัมมาวตารนี้ ท่านให้เวยยาวัจจะนี้ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปเนื่องด้วยการทำ #กิจใหญ่น้อย ( #วตฺตปฏิวตฺต )ต่อสมณพราหมณ์ และการบำรุงภิกษุป่วยไข้ แห่งบุคคลผู้ปราศจากความคาดหวังในปัจจัยมีจีวรเป็นต้น.
ท่านผู้เจริญท้ังหลาย เวยยาวัจจะสำคัญตรงข้อความนี้ ผู้ปราศจากความคาดหวังในปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ส่วนนอกนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาให้สังเกตถึงการช่วยเหลือในกิจไม่มีโทษอย่างอื่นด้วย.
เทสนาบุญญกิริยา คือ เมื่อเป็นผู้ปราศจากจิตที่เพ่งถึงอามิสเพียงเล็กน้อยเป็นต้น ดำรงอยู่ในแนวทาง #วิมุตตายตนะ คือ ธรรมเป็นเหตุแห่งวิมุติแล้วแสดงธรรมอันคล่องแคล่วของตน รวมไปถึงผู้สอนแสดงสาธิตศิลปะเป็นเหตุแห่งการงานไม่มีโทษ.
ส่วนอนุโมทนามยบุญญกิริยานั้น ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปโดยละความตระหนี่และริษยาแล้วอนุโมทนาความดีหรือแม้ผลกรรมดีที่ผู้อื่นให้อย่างใดอย่างหนึ่ง
( #กิจใหญ่น้อย ออกมาจากศัพท์บาลีว่า #วตฺตปฏิวตฺต คัมภีร์สังยุตตฎีกาให้ความหมายว่า วตฺต คือ กิจที่ควรทำก่อน ส่วนปฏิวตฺต คือ กิจอื่นที่ควรทำภายหลัง, อีกนัยหนึ่ง วตฺต คือ กิจใหญ่, ปฏิวตฺต คือ กิจเล็กน้อย สรุปว่า กิจทุกอย่างนั่นเอง ชื่อว่า วตฺตปฏิวตฺต)
( #วิมุตตายตนะ หมายถึง ธรรมอันเป็นเหตุแห่งวิมุตติที่มาในวิมุตตายนสูตร คือ การฟัง แสดงธรรมโดยพิสดาร สาธยายธรรม ตรึกตรองธรรม และแทงตลอดสมาธินิมิตที่ได้เล่าเรียนมานั้น. ภิกษุผู้ประพฤติกิจ ๕ เหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมบรรลุอรหัตตผลวิมุตติได้, ดังนั้น เมื่อภิกษุดำรงอยู่ในวิถีแห่งวิมุตตายตนะคือแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่าอื่นโดยไม่เห็นแก่อามิสเล็กน้อย บุญกุศลของภิกษุนี้เรียกว่า เทสนามยปุญญกิริยาวัตถุ, แม้ในทางโลก วิชชายตนะ ก็คือ เรื่องราวที่เป็นเหตุให้เกิดความรู้ ก็มีนัยนี้.)

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๗๒ ปัตติทาน

#๗๒อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า ปัตติทาน 

ภาวนามยปุญญกิริยาวัตถุที่ได้กล่าวมาแล้วคือ วิปัสสนา สมถะ การศึกษาศิลปวิทยางานอาชีพที่ไม่มีโทษ รวมกระทั่งการพิจารณาไทยธรรมในคราวก่อนให้ กำลังให้และหลังจากให้.  แต่ยกเว้นสมาธิที่เป็นอัปปนาสมาธิและวิปัสสนาที่เกิดหลังโคตรภูญาณ ไม่จัดเป็นภาวนามย เพราะเป็นกุศลที่ไม่ใช่กามาวจรกุศล แต่เป็นรูปาจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตรกุศล. บัดนี้จะแสดงวินิจฉัยเรื่องปัตติทาน ตามนัยของฎีกาอภิธัมมาวตารสืบไป
ปัตติทาน เมื่อว่าตามบทพยัญชนะ ได้แก่ การให้ปัตติคือบุญนั่นเอง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นเจตนาที่เป็นไปภายหลังที่บุคคลได้ทำกรรมดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมุ่งหวังให้กรรมดีที่ตนทำไว้แล้วนั้นเป็นของทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่นด้วยอาการอย่างนี้ว่า “บุญนี้จงมีแก่ชนชื่อโน้น หรือแก่สรรพสัตว์เถิด”.

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ถ้าเอาบุญของตนไปให้ผู้อื่นแล้ว บุญจะมิเป็นอันสิ้นไปดอกหรือ?
ตอบ ไม่, เปรียบเหมือนว่า เมื่อได้จุดประทีปหนึ่งดวงแล้วต่อประทีปจากดวงแรกนั้นอีกพันดวง ดวงแรกจะได้ชื่อว่า หมดสิ้นไป ก็หามิได้เลย, โดยที่แท้ เมื่อประทีปดวงหลังรวมกับดวงแรกเป็นดวงเดียวแล้ว จะกลายเป็นประทีปดวงใหญ่อย่างยิ่งทีเดียว ข้อนี้เป็นฉันใด, แม้เมื่อให้ส่วนบุญฉะนี้แล้ว จะมีความเสื่อมสิ้นไปก็หามิได้เลย, โดยที่แท้กลับเป็นอันเจริญงอกงามนั่นเทียว ฉันนั้น.

#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม ก็ปัตติคือส่วนบุญที่ทำแล้วนี้ จะได้ชื่อว่า “เป็นอันให้แล้ว” ได้อย่างไร?
ตอบ ด้วยการเปล่งวาจาหรือคิดในใจ ในเวลาก่อนหรือแม้ในภายหลัง อย่างนี้ว่า บุญกรรมของเรานี้จงมีแก่สรรพสัตว์ หรือ แก่บุคคลโน้น”.

แม้เมื่อเอ่ยวาจาว่า “เราได้ทำกรรมดีอันใดไว้, เรา “ขอให้” ผลของกรรมดีนั้น” ฉะนี้แล้ว บุญคือปัตตินั้น ก็เป็นอันให้แล้ว. กรณีนี้เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง.
          จึงมีข้อสรุปตกลงร่วมกันของอาจารย์ทั้งหลายในเรื่องนี้ว่า “ก็เพราะปัตตินี้เป็นกรรมอยู่ในห้วข้อว่าด้วยเรื่องกุศลกรรมด้วย ปัตตินั้นควรถูกอนุโมทนาด้วย ดังนั้น ปัตตินั่นแหละก็เป็นของพึงให้, ปัตตินั่นแหละ แม้อันบุคคลผู้อนุโมทนา ก็จะพึงอนุโมทนาด้วย.
(หมายถึง ปัตตินั้นนั่นแหละควรให้ เพราะเป็นเรื่องกุศลกรรม, และปัตตินั้นเช่นกัน ผู้จะอนุโมทนาก็จะควรอนุโมทนาฉะนั้น กุศลกรรมที่ตนทำมาซึ่งจะให้แก่คนอื่นที่เขาจะควรอนุโมทนา จึงเรียก ว่า ปัตติทาน
ปัตติ คือ บุญที่เข้าถึงแล้ว ทำแล้ว ซึ่งได้แก่ บุญส่วนบุญที่ผู้ทำได้รับ. อีกนัยหนึ่ง ปัตติ คือ บุญที่ให้ถึงแก่ผู้อื่น หมายถึง ผลบุญที่อุทิศให้คนอื่น และเป็นผลบุญที่ผู้อื่นซึ่งอนุโมทนาชื่นชมอยู่พึงได้รับ       
  
[คำว่า ปตฺติ มีความหมาย ๒ ประการ คือ                   
-ส่วนบุญที่ได้รับ = ปชฺชิตฺถาติ ปตฺติ (ปท ธาตุ + ติ ปัจจัย)          
-ผลบุญที่อุทิศให้คนอื่น = ปาปียตีติ ปตฺติ (ปท ธาตุ + เณ การิตปัจจัย + ติ ปัจจัย)]

ขอยุติไว้แต่เพียงนี้ 

ขออนุโมทนา 
สมภพ สงวนพานิช.

*****

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๗๑ ภาวนามยกุศล

#๗๑อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร

กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ข้อว่า ภาวนา -

**** เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีรฺอภิธัมมาวตาร ๘ วินิจฉัยบุญกิริยาวัตถุ

ท่านสาธุชนทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ กับกุศลนั้นก็คือธรรมเดียวกันนั่นเอง กล่าวคือ กุศลเมื่อเป็นไปก็เป็นไปโดยความเป็นบุญกริยวัตถุ ๑๐ นี้เอง

เมื่อคราวที่แล้วได้แสดงวินิจฉัยว่า แม้ธรรมชาติที่ได้ชื่อว่า ทาน เหมือนกัน แต่จะได้ชื่อบุญกิริยาทั้งหมดก็หามิได้ เพราะถ้าเกิดขึ้นกับพระขีณาสพ ก็ไม่จัดเข้าเป็นบุญกิริยาตามเหตุผลที่ได้กล่าวไปแล้ว.

แม้ศีลก็มีส่วนคล้ายกับทานอยู่บ้าง ในกรณีที่ทานนั้นเกิดขึ้นโดยความเป็นกิริยาที่สืบต่อกันของตระกูลหรือประพฤติกันสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คิดถึงการบูชาและอนุเคราะห์ ก็จะเป็นศีลประเภทจาริตตศีล แต่ในกรณีที่คิดถึงการบูชาและอนุเคราะห์ก็คงจัดเป็นทานมัยตามปกติ.

ถึงคราวนี้ จะได้แสดงข้อวินิจฉัยในบุญกิริยาข้ออื่นต่อไปตามควรแก่เวลา

ภาวนานั้นเล่ามีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๗๐. บุญกิริยวัตถุ ๑๐ ทานมยและสีลมยบุญญกิริยาวัตถุ

#๗๐อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำวินิจฉัยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ ทานมย.และสีลมยบุญญกิริยาวัตถุ

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )


เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวความหมายตามบทเรียกวา “ปทวิจาร” หมายถึง การตีกรอบความหมายตามบทพยัญชนะอย่างสังเขปเท่าที่ปรากฏตามหลักการที่คัมภีร์ฎีกาอภิธัมมาวตารนำเสนอไว้ บัดนี้จะแสดงความเป็นไปตามสภาวะและขอบเขตของบุญกิริยาวัตถุนั้นๆ โดยนัยของฎีกานั้นสืบไป.

ทาน อันที่จริง ก็คือ ปริจจาคเจตนา เจตนาที่ทำให้สละวัตถุ ที่ประกอบในกุศลจิตนั่นเอง.  อันที่จริง เจตนาที่เป็นไปโดยเนื่องด้วยการสละสิ่งของที่มีอยู่ของตน โดยหวังจะบูชาและอนุเคราะห์มุ่งไปที่บุคคลอื่น ของเสขบุคคลและปุถุชน ก็เรียกว่า ทาน. แม้เจตนาดังกล่าว ที่เป็นไปแก่พระขีณาสพ ก็เรียกว่า ทาน เหมือนกัน, แต่ทว่า เจตนาของพระเสขะและปุถุชนเท่านั้นที่ประสงค์เอาว่าเป็นทานมยปุญญกิริยาวัตถุ ของพระขีณาสพมิได้ประสงค์เอา,

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๖๙.ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ (ต่อ)

#๖๙อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ (ต่อ)

ดูเนื้อความช่วงนี้อยู่ในคัมภีร์ (คลิ๊กดู)  อภิธัมมาวตารครั้งที่ ๘
บุญกิริยาวัตถุ กล่าวคือ กุศล ๘ ดวงอันเป็นบุญคือสิ่งควรทำอันเป็นเหตุแห่งอานิสงส์ทั้งหลาย ที่ว่ามี ๑๐ นั้น ได้แก่
    ๒๑.  ทานํ สีลํ ภาวนา ปตฺติทานํ,
เวยฺยาวจฺจํ เทสนา จานุโมโท;
ทิฏฺฐิชฺชุตฺตํ สํสุติจฺจาปจาโย,
เญยฺโย เอวํ ปุญฺญวตฺถุปฺปเภโทฯ

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๖๘. กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐

#๖๘อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐

ดู #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘

จิต ๘ ดวง ได้ชื่อว่า กามาวจร ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เที่ยวไปในกามตลอดกาลโดยส่วนมาก ๑, ทำปฏิสนธิให้เที่ยวไปในกาม ๑, นับเนื่องในกามาวจร ๑ และ ชื่อว่า กุศล เพราะกำจัดบาป เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต เพราะเป็นกามาวจร ด้วย กามาวจรนั้น เป็น กุศลด้วย จึงชื่อว่า กามาวจรกุศล.

ก็กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านั้น มีความเป็นไปอย่างไรบ้าง

๒๐. 
      อิทํ อฏฺฐวิธํ จิตฺตํ,             กามาวจรสญฺญิตํ;
   ทสปุญฺญกฺริยวตฺถุ-           วเสเนว ปวตฺตติฯ

จิตที่ได้ชื่อว่า กามาวจร ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นั่นเทียว.

บุญกิริยาประเภทใดประเภทหนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ย่อมเป็นเหตุให้จิต ๘ ดวงนี้เกิดขึ้น.  ในที่นี้จะแสดงเรื่องเหล่านี้โดยสังเขป พอเป็นเครื่องประกอบของกามาวจรกุศลจิต เรื่องนี้มาในอรรถกถาอภิธรรมชื่อว่า อัฏฐสาลินี และคัมภีร์อื่นๆฝ่ายพระสูตรมากแล้ว ขอท่านสาธุชนค้นหาความพิสดารในนั้นเถิด.

          พระฎีกาจารย์แสดงไว้ในคัมภีร์ฎีกาอภิธัมมาวตาร บุญกิริยาวัตถุ โดยแยกศัพท์นี้ออกเป็น ๓ คือ

          บุญ คือ สภาวะทำให้เกิดผลน่าบูชา และ เป็นสภาวะชำระสันดานของตน
          กิริยา คือ กรรมอันควรทำ
          วัตถุ คือ เหตุอันเป็นที่ต้้งของอานิสงส์เหล่านั้นๆ.

          และเมื่อนำสามศัพท์รวมกัน ก็ได้ความว่า บุญนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ ชื่อว่า บุญกิริยา,  บุญกิริยานั้นคือวัตถุ เพราะเป็นที่ตั้งคือเป็นเหตุแห่งอานิสงส์ต่างๆ จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ.

          จิต ๘ ดวงเหล่านี้แหละ ก็คือบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนั้นทีเดียว  จึงหมายความว่า เมื่อจิตดวงนี้เป็นไป ก็ย่อมเป็นไปโดยเป็นบุญกิริยาวัตถุได้ทั้ง ๑๐ ซึ่งต่างจากรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตรกุศลที่เป็นไปโดยภาวมยกุศลอย่างเดียวเท่านั้น.

          ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่ง คือ จิต ๘ ดวงนี้แหละ ย่อมเป็นไปโดยเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างนี้เท่านั้น จะเป็นไปโดยบุญกิริยาวัตถุมีการสรรเสริญเทพอื่นเป็นต้น ที่พวกเดียรถีย์ฝ่ายอื่นตั้งขึ้น ก็หามิได้. เรื่องนี้ พระฎีกาจารย์บอกว่า จะมีรายละเอียดให้ติดตามในข้อความว่า “บุญคืออนุสสติทั้งปวง” เป็นต้น ที่จะมาถึงในคราวต่อๆไป.

          ขออนุโมทนา
          สมภพ สงวนพานิช

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๖๘ : ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐

#๖๘อภิธัมมาวตาราวตาร เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๘ )

จิต ๘ ดวง ได้ชื่อว่า กามาวจร ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เที่ยวไปในกามตลอดกาลโดยส่วนมาก ๑, ทำปฏิสนธิให้เที่ยวไปในกาม ๑, นับเนื่องในกามาวจร ๑ และ ชื่อว่า กุศล เพราะกำจัดบาป เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต เพราะเป็นกามาวจร ด้วย กามาวจรนั้น เป็น กุศลด้วย จึงชื่อว่า กามาวจรกุศล.
ก็กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านั้น มีความเป็นไปอย่างไรบ้าง

๒๐. อิทํ อฏฺฐวิธํ จิตฺตํ,             กามาวจรสญฺญิตํ;
   ทสปุญฺญกฺริยวตฺถุ-           วเสเนว ปวตฺตติฯ
๒๐. จิตที่ได้ชื่อว่า กามาวจร ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นั่นเทียว.

บุญกิริยาประเภทใดประเภทหนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ย่อมเป็นเหตุให้จิต ๘ ดวงนี้เกิดขึ้น.  ในที่นี้จะแสดงเรื่องเหล่านี้โดยสังเขป พอเป็นเครื่องประกอบของกามาวจรกุศลจิต เรื่องนี้มาในอรรถกถาอภิธรรมชื่อว่า อัฏฐสาลินี และคัมภีร์อื่นๆฝ่ายพระสูตรมากแล้ว ขอท่านสาธุชนค้นหาความพิสดารในนั้นเถิด.

          พระฎีกาจารย์แสดงไว้ในคัมภีร์ฎีกาอภิธัมมาวตาร บุญกิริยาวัตถุ โดยแยกศัพท์นี้ออกเป็น ๓ คือ

          บุญ คือ สภาวะทำให้เกิดผลน่าบูชา และ เป็นสภาวะชำระสันดานของตน

          กิริยา คือ กรรมอันควรทำ

          วัตถุ คือ เหตุอันเป็นที่ต้้งของอานิสงส์เหล่านั้นๆ.

          และเมื่อนำสามศัพท์รวมกัน ก็ได้ความว่า บุญนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ ชื่อว่า บุญกิริยา,  บุญกิริยานั้นคือวัตถุ เพราะเป็นที่ตั้งคือเป็นเหตุแห่งอานิสงส์ต่างๆ จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ.

          จิต ๘ ดวงเหล่านี้แหละ ก็คือบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนั้นทีเดียว  จึงหมายความว่า เมื่อจิตดวงนี้เป็นไป ก็ย่อมเป็นไปโดยเป็นบุญกิริยาวัตถุได้ทั้ง ๑๐ ซึ่งต่างจากรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตรกุศลที่เป็นไปโดยภาวมยกุศลอย่างเดียวเท่านั้น.

          ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่ง คือ จิต ๘ ดวงนี้แหละ ย่อมเป็นไปโดยเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างนี้เท่านั้น จะเป็นไปโดยบุญกิริยาวัตถุมีการสรรเสริญเทพอื่นเป็นต้น ที่พวกเดียรถีย์ฝ่ายอื่นตั้งขึ้น ก็หามิได้. เรื่องนี้ พระฎีกาจารย์บอกว่า จะมีรายละเอียดให้ติดตามในข้อความว่า “บุญคืออนุสสติทั้งปวง” เป็นต้น ที่จะมาถึงในคราวต่อๆไป.

          ขออนุโมทนา

          สมภพ สงวนพานิช

๖๗/๑ : แม้จิตก็ชื่อว่า กามาวจร ด้วยเหตุที่นับเนื่องในกาม (ต่อ)

#๖๗/๑อภิธัมมาวตาราวตาร เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : แม้จิตก็ชื่อว่า กามาวจร ด้วยเหตุที่นับเนื่องในกาม (ต่อ)

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๗ )

ชื่อว่า กามาวจร จึงที่มาดังต่อไปนี้
กามตัณหา คือ กาม, กามนั้น ย่อมเที่ยวไปในกามภพนี้ ด้วยอำนาจการทำให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น กามภพนี้ ชื่อว่า กามาวจร เป็นที่เที่ยวไปของกามตัณหา.

#ปัญหาน่าสงสัย

ถาม กามตัณหา ก็คือ ตัณหาที่มีกามาจรธรรมเป็นอารมณ์, และ กามาจรธรรม ก็คือ ธรรมอันเป็นอารมณ์ของตัณหา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะมีปัญหาที่ว่า ต่างฝ่ายก็เป็นเหตุของกันและกันได้หรือ?

ตอบ, ไม่เป็นปัญหาใดๆทั้งสิ้นหรอก, เพราะเมื่อกำหนดให้กามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกามตัณหาโดยแผ่ไปใน ๑๑ แห่งมีอวีจิมหานรกเป็นต้น ฉะนี้แล้ว ก็ควรกำหนดกามาวจรธรรมโดยความเป็นอารมณ์ของกามตัณหาที่มีสภาพเช่นนั้น (เท่านั้น).

อีกนัยหนึ่ง กามทั้งสองคือกิเลสกามและวัตถุกาม ย่อมเที่ยวไปจิตนี้ ด้วยอำนาจเป็นไปร่วมกัน ตามควร เพราะเหตุนั้น จิตนี้ จึงชื่อว่า กามาวจร,

อีกนัยหนึ่ง จิตนั้น ย่อมเที่ยวไปในกามแม้ทั้งสองนั้น ด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์ เหตุนั้น จิตนั้น ชื่อว่า กามาวจร.

อีกนัยหนึ่ง แม้จิตนี้ มีชื่อเรียกว่า กามาวจร เนื่องด้วยความเป็นไปในกามาวจรภพ  โดยนิสสยโวหาร (โวหารกล่าวพาดพิงที่อยู่แต่หมายถึงสิ่งที่มาอาศัยอยู่) เพราะเป็นสภาพที่อาศัยกามาวจรภพนัั้น เหมือนอย่างที่ชาวโลกพูดถึงผู้ที่อยู่บนเตียงส่งเสียงโห่ร้องเสียงดังว่า เตียงโห่ร้อง ก็โดยเอาที่อาศัยเข้าไปในผู้ที่อาศัย เพราะเขารู้กันอยู่ว่า ผู้อยู่ และสถานที่อยู่ก็เหมือนกัน.

จึงสรุปได้ว่า จิตชื่อว่า กามาวจร “นับเนื่องในกามภพ” จิต เพราะอาศัยเหตุเหล่านี้ คือ

เป็นที่เที่ยวไปแห่งกามทั้งสอง โดยความเป็นธรรมที่เกิดร่วมกันได้บ้างตามควร,
เป็นธรรมชาติเป็นไปในกามภพโดยทำให้เป็นอารมณ์ ,
ใช้คำว่า กามาวจร คือ กามภพ แทนตนที่เป็นไปในกามาวจรนั้น (ฐานูปจาระ)

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช