#๖๙อภิธัมมาวตาราวตาร :
เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต
: ความเป็นไปของกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงโดยบุญกิริยวัตถุ ๑๐ (ต่อ)
บุญกิริยาวัตถุ กล่าวคือ กุศล ๘
ดวงอันเป็นบุญคือสิ่งควรทำอันเป็นเหตุแห่งอานิสงส์ทั้งหลาย ที่ว่ามี ๑๐ นั้น
ได้แก่
๒๑. ทานํ สีลํ ภาวนา ปตฺติทานํ,
เวยฺยาวจฺจํ
เทสนา จานุโมโท;
ทิฏฺฐิชฺชุตฺตํ
สํสุติจฺจาปจาโย,
๒๑. ทาน ศีล ภาวนา ปัตติทาน
เวยยาวัจจะ เทสนา อนุโมทนา ทิฏฐุชุกัมม์ ธัมมัสสวนะ และอปจายนะ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งวัตถุ คือ
บุญทั้งหลาย ตามประการที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้เถิด.
บรรดา บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ นั้น
ทาน ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุให้
เรียกว่า ปริจาคเจตนา. และจะเรียกในที่นี้ว่า จิตที่สหรคตด้วยจาคเจตนา
เพราะกำลังพูดเรื่องจิตอยู่.
ศีล ได้แก่ ธรรมที่ตั้งไว้ซึ่งกายกรรมและวจีกรรม.
เพราะความประพฤติทางกายเป็นต้น เป็นอันไม่เรี่ยรายกระจัดกระจาย อันตั้งไว้ได้แล้ว
คือ มั่นคงเป็นอย่างดี จะนำประโยชน์และความสุขมาให้ทั้งปัจจุบันและภายภาคหน้า
ก็ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้มีศีลดีนั่นเอง.
ยังมีอีกนัยหนึ่ง ศีลได้แก่ ธรรมที่รองรับไว้
คือ เป็นที่ตั้ง เป็นพื้นฐานของกุศลทั้ืงหลาย
ภาวนา ได้แก่
ธรรมที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมมี คือ เสพคุ้น ได้แก่ เจริญ
ปัตติทาน ได้แก่
เจตนาที่จะเป็นเหตุให้บุคคลมอบบุญ (มีชื่อว่า ปัตติ ในที่นี้)
ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในสันดานของตน
เวยยาวัจจะ ได้แก่ ภาวะที่บุคคลขวนขวายในกิจนั้นๆ
เทสนา ได้แก่ เจตนาที่ให้บุคคลแสดงธรรมหรือวิชาการไม่มีโทษ
อนุโมทะ (คือ อนุโมทนา
แต่ในที่นี้เขียนตามแบบคัมภีร์อภิธัมมาวตาร) ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุให้ยินดี
(หรืออนุโมทนา) บุญ (ที่ชื่อว่า ปัตติ)
ทิฏฐุชุตตะ (คือ ทิฏฐิชุกัมม์ ในที่นี้เขียนตามอภิธัมมาวตาร)
ได้แก่ ความตรงของความเห็น หรือ ความเห็นตรง กล่าวคือ
การทำให้ความเห็นตรงด้วยสัมมาทิฏฐิ)
สังสุติ (คือ ธัมมัสสวนะ
ในที่นี้เขียนตามอภิธัมมาวตาร) ได้แก่ เจตนาที่ฟังอย่างดี
เกี่ยวกับเป็นเป็นความน้อมใจไปในประโยชน์ของตนและผู้อื่น.
อปจายะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุให้ทำความนอบน้อมหรือเคารพเนื่องด้วยการบูชา.
ท่านทั้งหลาย
แม้ในทีนี้จะใช้คำว่า เจตนา บ้าง ความ บ้าง นำหน้าสภาวะหรือกิจของบุญกิริยานั้นๆ
ก็เนื่องจากธรรมเหล่านี้เป็นเจตนาหรือภาวะของจิตหรือประกอบกับจิต ดังนั้น
หากจะกล่าวให้เหมาะสมกับเรื่องในตอนนี้ควรจะกล่าวว่า
จิตที่ประกอบกับเจตนาเป็นเหตุให้ หรือ จิตที่มีความขวนขวาย ดังนี้เป็นต้น.
นอกจากนี้ คำอธิบายในที่นี้เป็นคำอธิบายอย่างสังเขป เจาะจงเฉพาะความหมายตามคำศัพท์ ซึ่งเป็นไปอย่างย่อชนิดที่เรียกว่า “ปทวิจาร” คือ การพิจารณาหาความหมายแห่งบท เสียมากกว่า อาจทำให้เกิดความรู้สึกทำนองที่เรียกว่า “ไม่ค่อยรู้เรื่อง”. เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อความเหล่านั้นควรมีวินิจฉัยให้ยุติเหล่าใด, คำวินิจฉัยเหล่านั้น จะพึงให้เป็นไปในคราวหน้า วันนี้ขอหยุดไว้เพียงปทวิจารแต่เพียงนี้
นอกจากนี้ คำอธิบายในที่นี้เป็นคำอธิบายอย่างสังเขป เจาะจงเฉพาะความหมายตามคำศัพท์ ซึ่งเป็นไปอย่างย่อชนิดที่เรียกว่า “ปทวิจาร” คือ การพิจารณาหาความหมายแห่งบท เสียมากกว่า อาจทำให้เกิดความรู้สึกทำนองที่เรียกว่า “ไม่ค่อยรู้เรื่อง”. เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อความเหล่านั้นควรมีวินิจฉัยให้ยุติเหล่าใด, คำวินิจฉัยเหล่านั้น จะพึงให้เป็นไปในคราวหน้า วันนี้ขอหยุดไว้เพียงปทวิจารแต่เพียงนี้
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น