วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๘ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๘อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

เมื่อคราวที่แล้วมาได้กล่าวถึง มหากุศลจิตดวงที่ ๑ โดยการเกิดขึ้นในชีวิตของพวกเรา ตามความเป็นจริง. ถึงคราวนี้ ถ้าบุคคลนั้น ยังขาดความกระตือรือร้น ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจาก ไม่เห็นคุณค่าของบุญ ถูกความตระหนี่ครอบงำเป็นต้น. แต่เมื่ออาศัยแรงกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจโดยอุบายอันแยบคาย อันตนได้เคยสะสมมาจากการสดับตรับฟังพระธรรม ก็ตาม มีกัลยาณมิตรมาแนะนำให้มีความอาจหาญในอันจะทำบุญ เขาก็มีใจยินดีทำบุญ ทั้งมีความเข้าใจอย่างถูกต้องในสภาพและผลของบุญนั้นว่ามีประโยชน์ให้ผลเป็นความสุขทั้งในสัมปรายิกะและทิฏฐธรรม จึงได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง.  

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๗ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๗อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

ได้กล่าวองค์ประกอบของกามาวจรกุศลจิต ที่เรียกว่า มหากุศลจิต ดวงที่ ๑ ในบรรดา ๘ ดวง ไป ๒ ประการแล้ว คือ เกิดขึ้นพร้อมกับโสมนัสเวทนา และ สัมปยุตด้วยปัญญา บัดนี้จะได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่ ๓ คือ ไม่มีการกระตุ้นชักชวน.

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๖อภิธัมมาวตาราวตาร :ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๖อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

ต่อไปนี้จะกล่าวถึง คุณสมบัติพิเศษของกามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ อย่างที่ ๒ คือ สัมปยุตกับญาณสืบไป
ท่านแสดงจิตดวงนี้ว่าเป็นญาณสัมปยุตจิต ไว้ด้วยข้อความว่า กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้น ไว้เป็นเบื้องหน้า
ฎีกาอภิธัมมาวตาร ท่านวินิจฉัยคำว่า สัมมาทิฏฐิ ว่าได้แก่ ความเห็นอย่างถูกทาง หรือ ความรู้ถูกต้องอันบัณฑิตสรรเสริญ โดยมีหลักฐานอัางอิง ๒ ประการ คือ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๕: ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๕อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

คราวนี้จะได้ชำระปัญหากรรมในข้อที่ ๒ ว่า ปฏิคาหก คือ ใคร
ปฏิคาหก ได้แก่ ผู้รับเอาซึ่งทานอันเขาให้แล้วนั้น.  ในภาษาไทย บางครั้งนิยมเรียกผู้ รับ มีพระสงฆ์เป็นต้นว่า ปฏิคาหก ตามคำศัพท์เดิมในภาษาบาฬี. ส่วนทายก คือ ผู้ให้ ดังนั้น ทายกและปฏิคาหก ก็เป็นผู้ที่เป็นไปโดยไม่แยกจากกัน.

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

#๘๔ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๔อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง
ดูคัมภีร์อภิธัมมาวตารแปล http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html
กามาวจรกุศลจิต เมื่อกล่าวโดยเกี่ยวกับความเป็นไป จะมีความผูกติดอยู่กับธรรม ๓ ประการ คือ
๑. สังขาร
๒. ญาณ
๓. เวทนา

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๘๓ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๓อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร (http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html ) ได้กล่าวถึง กามาวจรกุศลจิตโดยลำดับการเกิดขึ้นไว้ดังนี้


๑. ในเวลาใด บุคคลใด อาศัยความถึงพร้อมแห่งไทยธรรม และปฏิคาหกเป็นต้น หรือเหตุแห่งโสมนัสอย่งอื่น เป็ฯผู้ร่าเริงบันเทิง กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นเบื้องหน้า ไม่ท้อแท้อยู่ ไม่ถูกผู้อื่นกระตุ้น กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ในเวลานั้น.

๘๓ : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#๘๓อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : ลำดับการเกิดขึ้นของกามาวจรกุศลจิตทั้ง ๘ ดวง

#คัมภีร์อภิธัมมาวตาร ( http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html ) ได้กล่าวถึง กามาวจรกุศลจิตโดยลำดับการเกิดขึ้นไว้ดังนี้

๑. ในเวลาใด บุคคลใด อาศัยความถึงพร้อมแห่งไทยธรรม และปฏิคาหกเป็นต้น หรือเหตุแห่งโสมนัสอย่งอื่น เป็ฯผู้ร่าเริงบันเทิง กระทำสัมมาทิฏฐิ อันเป็นไปโดยนัยว่า “ผลของทานมีอยู่” ดังนี้เป็นต้นไว้เป็นเบื้องหน้า ไม่ท้อแท้อยู่ ไม่ถูกผู้อื่นกระตุ้น กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ในเวลานั้น.