วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

๘๑: สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น

#๘๑อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : สงเคราะห์บุญกิริยา ๑๐ โดยเจตนาในกาล ๓ มีปุริมเจตนาเป็นต้น

( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๙ )
http://aphidhammavatara.blogspot.com/2016/05/blog-post_2.html

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ เมื่อเป็นไปย่อมเป็นไปในกาล ๓ เหล่านี้ คือ
๒๕. ปุริมา มุญฺจนา เจว,          ปรา ติสฺโสปิ เจตนา;
       โหติ ทานมยํ ปุญฺญํ,         เอวํ เสเสสุ ทีปเยฯ
๒๕. ในบุญข้อทานมัย มีเจตนา ๓ คือ ปุริมเจตนา มุญจนเจตนา และปรเจตนา ในบุญข้อที่เหลือ บัณฑิตพึงแสดงเจตนา ๓ ได้อย่างนั้นเหมือนกัน

ในคาถานี้ท่านยกทานมัยขึ้นเป็นตัวอย่างก่อน บัณฑิตพึงประกอบบุญกิริยาที่เหลือโดยนัยนี้.
ก่อนอื่น พึงทราบการแบ่งกาลของเกิดขึ้นของบุญดังนี้

๑. ปุริมเจตนา เจตนาหรือบุญที่เกิดขึ้นก่อนจะทำนั้น
๒. มุญจนเจตน เจตนาหรือบุญที่เกิดขึ้นขณะที่กำลังทำนั้น
๓. ปรเจตนา เจตนาหรือบุญที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้ทำแล้ว.
ยกตัวอย่างทานมัยก่อน
ตราบใดก็ตาม ที่การสละวัตถุ ก็ดี การน้อมไปซึ่งวัตถุ ก็ดี เข้าไว้ในมือของปฏิคาหก แห่งบุคคลผู้ทำไทยธรรมให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยชอบ เพื่อการให้ ก็ดี ทำความคิดว่า จะสละ ก็ดี แสวงหาผู้ควรทักษิณาอยู่ ก็ดีเป็นไปแล้ว, เจตนาที่เป็นบุพพภาค ยังเป็นไปเพียงนั้น.
(กรณีนี้หมายถึง เพียงแต่ตั้งใจว่าจะสละ จะน้อมวัตถุไปในมือของปฏิคคาหก เท่านั้น ก่อนการให้จริงๆ ก็เป็นเพียงปุริมเจตนา.)
เจตนาสละหรือเจตนาน้อมไปในมือของปฏิคาหก ชื่อวา มุญจนเจตนา
เจตนาแห่งบุคคลผู้ไม่ทำอาลัยในวัตถุที่ตนสละแล้วนั้นพิจารณาทบทวนด้วยจิตที่ประกอบด้วยโสมนัสว่า “เราได้ถวายทานเลิศ ด้วยดีแล้วหนอ” ดังนี้ ชื่อว่า อปรเจตนา.
ท่านสาธุชนทั้งหลาย เป็นอันว่า บุญสามารถเกิดได้ในสามกาลอย่างนี้ ไม่ว่าจะก่อนหน้าและภายหลัง แม้ว่าจะยังไม่ได้ทำในขณะนั้นจริงๆ จิตใจที่น้อมไปเกี่ยวกับการให้ทาน ก็ชื่อว่า เป็นบุญกุศล นับว่า ได้ทำบุญกิริยาวัตถุในข้อนี้เหมือนขณะทำทุกประการ. 
ส่วนในบุญกิริยาข้อศีล ท่านสาธุชนได้โปรดไตร่ตรองโดยนัยนี้เถิดว่า
ในกรณีที่เป็นศีล
ปุพพเจตนา คือ เริ่มตั้งแต่คิดว่า เราจักรักษาศีล, ไปวิหารด้วยคิดว่า เราจักบวช
มุญจนหรือมัชฌิมเจตนา คือ ขณะกำลังสมาทานศีล, ขณะกำลังบรรพชา ขณะที่บำเพ็ญศีลอยู่
อปรเจตนา คือ ขณะที่ได้พิจารณาทบทวนศีลของตนว่า บริบูรณ์ดี ดังนี้
เป็นอันว่า ศีลจึงมีได้ทัั้งสามกาล ไม่ว่าจะเป็นก่อน ขณะ หรือภายหลัง ก็ตาม กล่าวคือ ในสามกาลนั้น ศีลก็มีเหมือนกันหมด ฉะนี้แหละ เจตนาในการให้ทาน รักษาศีลทั้งสามกาลนั้น ก็คือทาาน คือ ศีลเหมือนกัน.

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในบุญกิริยาข้อที่เหลือก็เป็นอันง่ายแล้ว

***** 

ขออนุโมทนา : 
สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น