#๖๗/๑อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : แม้จิตก็ชื่อว่า กามาวจร ด้วยเหตุที่นับเนื่องในกาม (ต่อ)
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๗ )
ชื่อว่า กามาวจร จึงที่มาดังต่อไปนี้
กามตัณหา คือ กาม, กามนั้น ย่อมเที่ยวไปในกามภพนี้ ด้วยอำนาจการทำให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น กามภพนี้ ชื่อว่า กามาวจร เป็นที่เที่ยวไปของกามตัณหา.
#ปัญหาน่าสงสัย
ถาม กามตัณหา ก็คือ ตัณหาที่มีกามาจรธรรมเป็นอารมณ์, และ กามาจรธรรม ก็คือ ธรรมอันเป็นอารมณ์ของตัณหา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะมีปัญหาที่ว่า ต่างฝ่ายก็เป็นเหตุของกันและกันได้หรือ?
ตอบ, ไม่เป็นปัญหาใดๆทั้งสิ้นหรอก, เพราะเมื่อกำหนดให้กามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกามตัณหาโดยแผ่ไปใน ๑๑ แห่งมีอวีจิมหานรกเป็นต้น ฉะนี้แล้ว ก็ควรกำหนดกามาวจรธรรมโดยความเป็นอารมณ์ของกามตัณหาที่มีสภาพเช่นนั้น (เท่านั้น).
อีกนัยหนึ่ง กามทั้งสองคือกิเลสกามและวัตถุกาม ย่อมเที่ยวไปจิตนี้ ด้วยอำนาจเป็นไปร่วมกัน ตามควร เพราะเหตุนั้น จิตนี้ จึงชื่อว่า กามาวจร,
อีกนัยหนึ่ง จิตนั้น ย่อมเที่ยวไปในกามแม้ทั้งสองนั้น ด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์ เหตุนั้น จิตนั้น ชื่อว่า กามาวจร.
อีกนัยหนึ่ง แม้จิตนี้ มีชื่อเรียกว่า กามาวจร เนื่องด้วยความเป็นไปในกามาวจรภพ โดยนิสสยโวหาร (โวหารกล่าวพาดพิงที่อยู่แต่หมายถึงสิ่งที่มาอาศัยอยู่) เพราะเป็นสภาพที่อาศัยกามาวจรภพนัั้น เหมือนอย่างที่ชาวโลกพูดถึงผู้ที่อยู่บนเตียงส่งเสียงโห่ร้องเสียงดังว่า เตียงโห่ร้อง ก็โดยเอาที่อาศัยเข้าไปในผู้ที่อาศัย เพราะเขารู้กันอยู่ว่า ผู้อยู่ และสถานที่อยู่ก็เหมือนกัน.
จึงสรุปได้ว่า จิตชื่อว่า กามาวจร “นับเนื่องในกามภพ” จิต เพราะอาศัยเหตุเหล่านี้ คือ
เป็นที่เที่ยวไปแห่งกามทั้งสอง โดยความเป็นธรรมที่เกิดร่วมกันได้บ้างตามควร,
เป็นธรรมชาติเป็นไปในกามภพโดยทำให้เป็นอารมณ์ ,
ใช้คำว่า กามาวจร คือ กามภพ แทนตนที่เป็นไปในกามาวจรนั้น (ฐานูปจาระ)
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น