#๔๗อภิธัมมาวตาราวตาร :
เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑:
ชื่อว่า #อสังขาริก #ไม่มีการกระตุ้นเตือน ของจิตดวงที่
๑
เนื้อความทั้งหมดของอภิธัมมาวตารช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๔
ได้อธิบายเหตุให้ได้ชื่อว่า #โสมนัสสหคต #เป็นไปร่วมกับโสมนัส #ญาณสัมปยุต #ประกอบด้วยญาณ อันเป็นวรรคแรกและที่สองของชื่อทั้งหมดของ
#กามาวจรกุศลจิตดวงที่๑ ดวงนี้. ต่อไปวรรคที่สาม คือ #ไม่มีการกระตุ้นเตือน หรือที่นิยมเรียกกันในหมู่ผู้ศึกษาพระอภิธรรม
#อสังขาริก. ต่อไปนี้จะเรียกการกระตุ้นเตือนว่า
สังขาร และจิตไม่มีการกระตุ้นเตือนว่า อสังขาริก เพื่่อสื่อความหมายในคำอธิบายนี้.
คำว่า อสังขาริก มาจาก
อ + สังขาร + ณิก (กลายมาเป็น อิก และต่อไปจะกล่าวเพียง อิก)
อ = ไม่มี
สังขาร = ความอุตสาหะอันมีในเบื้องแรกทั้งของตน หรือ ของผู้อื่น. ความอุตสาหะนี้ มีชื่อว่า สังขารเพราะเป็นธรรมที่ปรุงแต่ง
จัดแจงจิตโดยความเป็นเครื่องปรุงแต่งพิเศษ คือความเข้มแข็งของจิต.
ความอุตสาหะที่เกิดก่อน หรือ เครื่องปรุงแต่งพิเศษ
หรือ ความเข้มแข็ง นี้แหละ เรียกชื่อว่า สังขาร.
สังขารคือความอุตสาหะก่อนหน้านี้มี
๒ คือ ที่เกิดจากตนเอง และ
ที่เกิดจากผู้อื่น.
#ที่เกิดจากตนเอง ได้แก่ ความพยายามโดยถูกทาง
ที่เป็นไปในทางกาย วาจา และใจ คือ ไม่ว่าจะทำ พูด หรือคิด ที่เกี่ยวกับจะทำให้จิตคลายจากความมัวหมอง
และที่เกี่ยวกับจะให้เกิดความอุตสาหะ เมื่อจิตกำลังท้อแท้ด้วยความมัวหมองมีความตระหนี่และความง่วงเป็นต้น
ในเวลาที่ทำบุญมีทานเป็นต้น.
#ที่เกิดจากผู้อื่น ได้แก่
การแนะนำด้วยกายและวาจาของผู้อื่น โดยหวังจะให้ผู้ที่ไร้อุตสาหะจะทำบุญ
เกิดอุตสาหะจะทำบุญ โดยนัยว่า “ท่านสัตบุรุษผู้เจริญ เรื่องการทำบุญนี้
บัณฑิตทั้งหลายพากันใช้ดำเนินมา, ท่านควรดำเนินไปในหนทางนั้น, ดังนั้น
ท่านจงให้ทาน รักษาศีลเถิด, เพราะข้อนี้จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ท่าน”
ทั้งสองประการน้ัน อย่างแรก
เกิดขึ้นภายในจิตสันดานที่เกิดขึ้นก่อนหน้า (จิตดวงนี้),
ส่วนอย่างหลังเกิดขึ้นในจิตสันดานผู้อื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้น
ความพิเศษของจิตคือภาวะที่จิตเข้มแข็ง อันถูกความเพียรทำให้เกิด จึงชื่อว่า
สังขารในที่นี้โดยอ้อม คือ ไม่กล่าวถึงความเพียรอันเป็นแรงกระตุ้นโดยตรง
แต่กล่าวคำว่า สังขาร นี้ที่เป็นผล
เพราะต้องการเน้นผลอันเกิดจากความพยายามเป็นต้นที่ให้อุตสาหะ
อิก =
กลายมาจาก ณิก. อักษรนี้ไม่มีความหมายใด
ถูกประกอบไว้ท้ายศัพท์เพื่อให้เกิดความงดงามของบทพยัญชนะและความประสงค์อื่น ประเด็นนี้จะไม่นำมากล่าวถึงอีก
นำ อ, สังขาร และอิก รวมกัน = #อสังขาริก คือ #จิตที่ไม่มีสังขารคือความพยายามของตนและคำแนะนำของผู้อื่น
ที่ปรากฏเป็นความเข้มแข็งใช้ปรุงแต่งจิต ในการทำบุญกุศล โดยเรียกง่ายๆว่า #จิตไม่มีการกระตุ้นเตือน.
เรื่องของสังขาร ยังไม่จบ
คงต้องต่อคราวหน้า
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น