วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๐ : คำจำกัดความของคำว่า กุศลแบบที่ ๗.

อภิธัมมาวตาราวตาร#๑๐ : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กุศลชาติ : วจนัตถะ คือ คำจำกัดความของคำว่า กุศลแบบที่ ๗. 

กุสล คือ ธรรมที่ลายกายที่มีแต่ของน่ารังเกียจหมักหมม

ความหมายนี้เป็นความหมายสุดท้าย ที่ฝากให้ท่านทั้งหลายไปขบคิด

คำว่า กุส ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง กิเลสมีราคะเป็นต้น แต่หมายถึง กายยาววาหนาคืบของพวกเรานี่แหละ เหตุที่กายได้ชื่อว่า กุสะ เพราะเป็นที่นอนอยู่ของสรรพสิ่งที่บัณฑิตตำหนิ,

ธรรมเหล่านี้ สามารถกำจัด กุสะ คือ กายนั้น โดยเกี่ยวกับการทำให้กุศลถึงความบริบูรณ์ที่สูงสุด กุศลนั้นก็จะเป็นเหตุให้บรรลุนิพพานชนิดอนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้ กายที่หมักหมมสิ่งน่ารังเกียจก็จะหมดสิ้นไป ก็ด้วยอำนาจของกุศลนั่นเหมือนกัน แล

เป็นอันจบคำว่า “กุสล” เสียที พรรณนามานานหลายเพลา.

กุสชาติกิเลส จงเสื่อมสูญ กุสลทั้งหลาย จงเพิ่มพูน กุสญาณ บริบูรณ์พลัน
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม ขอจงมีโดยถ้วนหน้ากันทุกท่านเทอญ

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น