กุศลชาติ : ลักขณาทิจตุกกะของกุศล นัยที่ ๑ (ต่อ)
คำว่า อนวชฺชอิฏฐวิปากลกฺขณํ นอกจากหมายถึง กุศลมีธรรมไม่มีโทษอันมีวิบากน่าปรารถนาเป็นลักษณะแล้ว คัมภีร์ฎีกาท่านแนะความหมายอีกนัยหนึ่งว่า
อถ วา ลกฺขียตีติ ลกฺขณํ, อนวชฺชอิฏฺฐวิปากญฺจ ตํ ลกฺขณญฺจาติ อนวชฺชอิฏฺฐวิปากลกฺขณํ, ยํ อนวชฺชอิฏฺฐวิปากํ หุตฺวา ลกฺขียติ, ตํ กุสลนฺติ อตฺโถฯ
ความหมายที่ ๑ อาจถูกทักท้วงด้วยเหตุผลที่ว่า ธรรมอย่างเดียวกันจะเอาธรรมอย่างเดียวกันมาเป็นลักษณะของตนได้หรือ ดังนั้น ถ้าไม่ชอบใจความหมายนั้น อาจพิจารณาโดยความหมายนี้ก็ได้
“กุศลเป็นธรรมชาติที่ถูกกำหนดด้วยธรรมที่ไม่มีโทษซึ่งมีวิบากน่าปรารถนา.”
ในที่นี้ ลักษณะ ได้แก่ สิ่งที่่ถูกกำหนด ดังนั้น บัณฑิตจึงกำหนดจดจำกุศลนั้นไว้โดยเป็นธรรมชาติที่ไม่มีโทษซึ่งมีวิบากน่าปรารถนา.
สำหรับท่านผู้มีทักษะการใช้ภาษาบาฬีจะสังเกตเห็นว่า
คำว่า ลักษณะ ในที่นี้มีอรรถกรรม เรียกว่า กรรมสาธนะ หมายถึง คำศัพท์นี้มีฐานะเป็นสิ่งที่ถูกกิริยากระทำ ซึ่งกิริยาในที่นี้ได้แก่ ลกฺขิยติ ย่อมกำหนด.
ส่วนคำว่า อนวชฺชอิฏฺฐวิปาก เป็นบทกรรมถูกกัตตา คือ ปณฺฑิโต บัณฑิต กระทำกิริยาการกำหนด ดังนั้น ข้อความนี้จึงหมายถึง ธรรมชาติใด เป็นสภาวะที่ไม่มีโทษอันมีวิบากน่าปรารถนา อันบัณฑิตย่อมกำหนดไว้ได้ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กุศล.
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น