#๔๔อภิธัมมาวตาราวตาร :
เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑:
เหตุให้ โสมนัสสสหคตจิต เกิดขึ้น เกิดร่วมกับโสมนัสสเวทนา.
เนื้อความทั้งหมดของอภิธัมมาวตารช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๔
#กามาวจรกุศลจิตดวงที่๑
นี้ได้อธิบายวิสัชชนาปัญหากรรมในข้อที่ ๑ ๒ และ ๓ แล้ว
บัดนี้จะอธิบายขยายความแก้ปัญหากรรมที่๔ ต่อไป
ปัญหากรรมที่ว่า #มีอะไรเป็นเหตุให้โสมนัสสหคตจิตดวงนี้เกิดขึ้น
ดังกล่าวมาแล้ว
โสมนัสเวทนาหาได้มีในจิตทุกดวงไม่ เนื่องจากไม่มีการประกอบร่วมกัน.
สำหรับเหตุที่ทำให้มีและไม่มีการประกอบร่วมกันนั้น คัมภีร์อรรถกถาอัฏฐสาลินี
ได้จำแนกไว้เป็นอเนกประการและมีความพิสดารเป็นอันมาก ในที่นี้จะนำมากล่าวพอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาไว้เป็นแนวทางสืบค้นรายละเอียดในคัมภีร์อรรถกถานั้นสืบไป
๑. อาศัยอารมณ์ชนิดเรียกว่า
อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์อันน่ายินดีพอใจสำหรับคนทั่วไป
๒. มีศรัทธามาก
๓. มีความเห็นถูกต้อง
๔.
ปกติเล็งเห็นอานิสงส์ของการทำกุศล
๕. เหตุ ๑๑ ของปีติสัมโพชฌงค์ คือ
พุทธานุสสติ, ธัมมานุสติ, สังฆานุสสติ, สีลานุสสติ, จาคานุสสติ, เทวตานุสสติ, อุปสมานุสสติ, เว้นคนหมองมัวคือมีกิริยาไม่เคารพพระสังฆเถระ
ไม่มีความยินดีเลื่อมใสในพระรัตนตรัย, คบคนอ่อนโยนคือมีจิตใจอ่อนโยนมากด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย,
หมั่นพิจารณาพระสูตรที่นำความเลื่อมใสมาให้
และน้อมไปในธรรมที่อยู่ในพระสูตรนั้นอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดๆ ดังนี้ ก็เป็นเหตุให้เกิดจิตที่สหรคตด้วยโสมนัสดวงนี้
เพราะเมื่อปีติเกิด โสมนัสย่อมเกิด เหตุที่ปีติและโสมนัส มีความเป็นไปร่วมกันเสมอ.
๖. มีปกติไม่ลึกซึ้ง คนจำพวกนี้
พอเห็นเครื่องช่วยอำนวยประโยชน์แม้เพียงนิดหน่อยก็พอใจ
๗. ปฏิสนธิด้วยจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส
เพราะคนเหล่านี้มักจะเลื่อมใส แม้ในสิ่งไม่น่าเลื่อมใส
#ปัญหาน่าสงสัย
อิฏฐารมณ์ถือเป็นอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งของโลภะมิใช่หรือ
เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้จิตกำหนัด, เมื่อเป็นเช่นนี้
กุศลจะเกิดในอิฏฐารมณ์ได้อย่างไร?
ใครรู้ช่วยตอบที
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น