#๕๓อภิธัมมาวตาราวตาร : เพื่อเข้าถึงคัมภีร์อภิธัมมาวตาร
กามาวจรกุศลจิต : คำว่า กาม ในคำว่า กามาวจรกุศล
( เนื้อความช่วงนี้อยู่ใน #คัมภีร์อภิธัมมาวตาร๕ )
กามาวจรกุศลจิตถูกจำแนกตามประเภทต่างๆ ดังได้แสดงมาแล้ว. แม้รายละเอียดของคำศัพท์ที่ประกอบกันขึ้นเป็นคำว่า “กามาวจร” ก็เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้.
กามาวจร ถูกรวมขึ้นระหว่างคำว่า กาม + อวจร
กาม = สภาพที่ใคร่ และ สิ่งที่ถูกใคร่.
อวจร = เป็นไป.
ในข้ันที่ ๑ นำ ๒ คำนี้มารวมกัน เป็น กามาวจร ได้ความหมายในขั้นนี้ว่า ประเทศที่่กามท่องเที่ยวไปของกามสองอย่างนั้น หมายถึง กามาวจรภูมิ และเรียกโดยย่อว่า กาม มีรายละเอียดที่ต้องกล่าวอีกมาก.
ในขั้นที่ ๒ นำคำว่า กาม ในขั้นที่ ๑ ที่หมายถึง ประเทศที่กามเที่ยวไปนั้น กลับมีความหมายว่า จิตที่ท่องเที่ยวไปกาม นั้น ก็ชื่อว่า กามาวจร เหมือนเดิมนั่้นเอง แปลว่า จิตที่เป็นไปในกาม, ที่ทำปฏิสนธิให้เกิดในกาม, จิตที่นับเนื่องในกาม โดยเหตุผลที่จะต้องศึกษากันเป็นลำดับไป.
-----------------------
ในคราวนี้จะได้แสดงคำว่า กามาวจร ในความหมายว่า ประเทศที่ท่องเที่ยวไปแห่งกามเสียก่อน
คำว่า กาม ท่านสาธุชนทั้งหลาย ควรกำหนดข้อความในอภิธัมมาวตารเป็นหลักการก่อนว่า
อุทฺทานโต ทุเว กามา, กฺเลสวตฺถุวสา ปน;
กิเลโส ฉนฺทราโคว, วตฺถุ เตภูมวฏฺฏกํฯ
อนึ่ง #กามมีสองอย่าง โดยสังเขป คือ กิเลสกามและวัตถุกาม, กิเลส ได้แก่ ฉันทราคะนั่นเอง, วัตถุ ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นไปกับวัฏฏะในภูมิสาม.
กามมีมากมายหลายอย่างในโลกนี้ เมื่อแบ่งโดยย่อ หรือ จัดเป็นห้วข้อ ก็จะมีเพียง ๒ คือ กิเลสกาม และ วัตถุกาม.
ท่านสาธุชน หากไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกามเหล่านี้ในคัมภีร์บาฬีขุททกนิกาย มหานิทเทส ภายใต้หัวข้อว่า “กามสุตตนิทเทส” จะพบข้อความที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระได้แสดง “กาม” ทั้งสองประการไว้ทั้งโดยย่อและโดยรายละเอียดที่แจกแจงออกมา. ในที่นี้จะยกมาเป็นเครื่องพอกพูนสุตะ ดังนี้
ที่ว่า วัตถุกาม (แบ่งเป็น ๒ นัย) คือ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ
เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม
ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา
นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท
กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม.
อีกอย่างหนึ่ง แม้กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน
ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก
ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต
เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น